พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

          มาตรา 7 ภายใต้บังคับมาตรา 8เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยโดยประกันภัยกับบริษัท

       จำนวนเงินเอาประกันภัย ให้กำหนดตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ แต่ต้องไม่น้อยกว่าจำนวนเงินที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

       มาตรา 8 รถดังต่อไปนี้ไม่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 7

     (1) รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และรถสำหรับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

     (2) รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด

     (3) รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น และรถยนต์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร

     (4) รถอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

      มาตรา 16 บริษัทจะยกเอาเหตุแห่งความไม่สมบูรณ์หรือการฝ่าฝืนเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างบริษัทกับเจ้าของรถหรือการได้บอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยกับเจ้าของรถ เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นมิได้ เว้นแต่บริษัทได้มีหนังสือแจ้งการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยให้เจ้าของรถและนายทะเบียนทราบล่วงหน้า

       การบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยให้มีผลเมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บริษัทได้มีหนังสือแจ้งการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยไปยังผู้เอาประกันภัยตามภูมิลำเนาที่ทราบครั้งสุดท้าย โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ

     มาตรา 17 บริษัทจะยกเอาความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฎิเสธความรับผิดในการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยมิได้

     มาตรา 20 เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ ให้บริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยเมื่อได้รับคำร้องขอจากผู้ประสบภัย

    ความเสียหายที่จะให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 21 ในกรณีที่บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวนที่ต้องจ่ายให้ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวนที่ต้องจ่ายให้ผู้ประสบภัยแจ้งการไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น หรือการได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบจำนวนจากบริษัทต่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 23 ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผุ้ประสบภัยจากเงินกองทุน

    (1) เจ้าของรถที่ก่อนให้เกิดความเสียหายมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา 7 หรือมาตรา 9 และเจ้าของรถไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย หรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน

    (2) ขณะเกิดเหตุ รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถเพราะเหตุที่รถนั้นได้ถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และเจ้าขอรถได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

    (3) ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถที่ก่อนให้เกิดความเสียหาย และรภนั้นไม่มีการประกันภัยกับบริษัท

    (4) มีความเสียหายจากรถเกิดแก่ผู้ประสบภัย แต่ไม่อาจทราบได้ว่ารถคันใดก่อให้เกิดความเสียหาย

    (5) บริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวน หรือ

    (6) ความเสียหายที่เกิดแก่ผู้ประสบภัยนั้นเกิดจากรถตามมาตรา 8

    มาตรา 25 ให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 มาตรา 23 หรือมาตรา 24 ให้แก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ทั้งนี้โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิด

    ให้ถือว่าความเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

   มาตรา 26 ในกรณีที่เจ้าของรถหรือบริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจำนวนตามมาตรา 23 (1) หรือมาตรา 23(5) แล้วแต่กรณี เมื่อสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปตามมาตรา 25 แล้ว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งเรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไปนั้นคืนจากเจ้าของรถหรือบริษัท แล้วแต่กรณีและเจ้าของรถหรือบริษัทจะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบขอจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายจากกองทุนส่งเข้าสมทบกองทุนอีกต่างหาก

   ให้เจ้าของรถหรือบริษัทจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นคืนกองทุนพร้อมด้วยเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง

   มาตรา 33 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นเรียกว่า "กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย เมื่อมีกรณีตามมาตรา 23 และเป็นค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้

    กองทุนประกอบด้วย

   (1) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้

   (2) เงินที่บริษัทจ่ายสมทบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 36

   (3) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี

   (4) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาตามมาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 33 หรือมาตรา 32

   (5) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

   (6) ดอกผลของเงินกองทุน

   (7) เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่ได้มาตาม (4) และ (5)

   (8) เงินรายได้อื่น ๆ

    เงินและทรัพย์สินดังกล่าวให้เป็นของกรมการประกันภัยเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

    มาตรา 34 ให้มีสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยขึ้นในกรมการประกันภัยเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุน

      การเบิกจ่าย การเก็บรักษา และการจัดการกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง

    มาตรา 35 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 23 เกิดขึ้น และผู้ประสบภัยไม่อาจขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากเจ้าของรถที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือบริษัทได้ ให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากกองทุนเมื่อผู้ประสบภัยได้นำหลักฐานสำเนาบันทึกประจำวันในคดีของพนักงานสอบสวนแสดงพร้อมกับการยื่นคำขอ

     การร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนและจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

    มาตรา 36 ให้บริษัทจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนเป็นรายปีในอัตราไม่เกินร้อยละสองของเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากผู้เอาประกันภัยในแต่ละปี เงินสมทบที่บริษัทจ่ายนั้นให้นำไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนาณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรได้

    การเรียกเก็บและการจ่ายเงินสมทบจากบริษัท ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

  บทสรุป

- บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นในกรณีผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บหรือตายจะยกเอาความไม่สมบูรณ์หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขของกรมธรรม์   การทุจริต ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันเพื่อปฎิเสธความรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ได้(ม.16,17,20)


- มีกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยสำหรับจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีบริษัทประกันภัยปฎิเสธความรับผิดหรือไม่มีผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น(ม.23,33,35)-   ฎ.2076/28 ค่ารักษาพยาบาลแม้ผู้บากเจ็บจะเบิกจากทางราชการได้หรือนายจ้างต้องจ่ายตามกม.แรงงานก็เรียกอีกได้จากผู้ทำละเมิด   (ฎ.2445/19)


- การเรียกค่าเสียหายกรณีละเมิดให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือตาย ผู้ขับรถประมาทนั้นเองหรือนายจ้าง   ตัวแทนหรือจากบริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายนั้น ๆ


- สำหรับผู้ประสบภัยจากรถตาม พรบ.นี้ แม้ผู้ขับรถนั้นจะมิได้เป็นฝ่ายผิดเลยก็ตาม   บ.ประกันภัยก็ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นเสมอ(ม.20)แต่……


- ผู้ประสบภัยจากรถเมื่อได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้วก็ยังมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ที่ต้องรับผิดในทางแพ่งอีกได้และถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตาม   ปพพ.
- กรณีที่รถชนและเจ้าของรถได้ตกลงกับทางฝ่ายผู้ประสบภัยไปแล้วว่าจะยุติเรื่องไม่เรียกร้องใดๆ อีก ก็น่าจะถือว่าผู้ประสบภัยไม่ต้องการเรียกร้องใดๆ อีกแล้ว   ทั้งค่าเสียหายเบื้องต้นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตาม// ม.25 และหากผู้ประสบภัยได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทแล้วไม่พอใจก็อาจเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ตาม   ปพพ.//เมื่อติดใจไม่เรียกร้องใดๆ ในทางแพ่งกันแล้วมีผลเสมือนกับหนี้ระงับจะกลับมาเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นอีกน่าจะไม่ได้   หรือกรณีผู้ประสบภัยฟ้องคดีเองและได้รับค่าสินไหมทดแทนแล้วจะมาเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นซ้ำสองอีกไม่ได้


- บริษัทฯ จะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นกรณีตายหรือบาดเจ็บเท่านั้นส่วนทรัพย์สินติดตัวที่หายเช่นนาฬิกา สร้อยคอทองคำ   บ.ไม่ต้องรับผิด ผู้ประสบภัยต้องไปฟ้องร้องเอาในทางละเมิดเองต่อไป


- สำหรับค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเสียหายเบื้องต้น   บ.ย่อมปฎิเสธได้ถ้าผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย   หรือไม่มีผู้ใดรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย


- ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนหากทายาทฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดไปแล้วย่อมเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นอีกไม่ได้
- แม้ลูกจ้างที่ได้สิทธิ่จากการประกันสังคม รักษาพยาบาลฟรีในโรงพยาบาลของรัฐก็มีสิทธิได้ค่าเสียหายเบื้องต้นอีกด้วย


- กรณีรถที่ชนมิได้เอาประกันภัยไว้   หรือคนร้ายขโมยเอาไปขับหรือรถของทางราชการหรือไม่รู้เป็นรถใครต้องเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทน


- บ.หรือกองทุนใช้สิทธิเรียกร้องไล่เบี้ยอายุความ 1 ปี นับแต่วันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือภายใน 5 ปีนับแต่รู้ตัวผู้ต้องรับผิด

   ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิด
   1. ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดจากการทำละเมิดทุกกรณีไม่ว่าจากรถชนหรือเหตุอื่น
   2. เรียกได้จากผู้ทำละเมิดหรือผู้ต้องร่วมรับผิดเช่นนายจ้าง ตัวแทน หรือบ.ประกันภัย
   3. ผู้ได้รับคาามเสียหายมิได้เป็นฝ่ายผิด
   4. ค่าสินไหมทดแทนคือความเสียหายทุกชนิด
   5. หลักเกณฑ์การจ่ายต้องนำสืบในศาลให้ปรากฎชัดเจน

    ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ.
  1. ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งซึ่งน้อยกว่าค่าเสียหายทั้งหมด
  2. เรียกได้จากบ.ประกันภัย เจ้าของรถ กองทุนทดแทน แล้วแต่กรณี
  3. ไม่คำนึงว่าเป็นความผิดของผู้ใด
  4. เฉพาะความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น
  5. หลักเกณฑ์การจ่ายตามกฎกระทรวง

           แนวฎีกาเรื่องละเมิด
- ค่าซ่อมรถ ค่าเสื่อมราคาก็เรียกได้ ฎ.1431/89,1836/14


- ค่าเช่ารถมาใช้งานระหว่างนำรถเข้าซ่อมก็เรียกได้ ฎ.1480/10 หรือ ค่าขาดผลกำไรจากการให้ผู้อื่นเช่ารถระหว่างเข้าซ่อม


- ฏ.450/16 กรณีบาดเจ็บเรียกค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องโดยจำเป็น เช่นค่าจ้างพยาบาลเฝ้าไข้   ค่ารถแท็กซี่นั่งไปทำงานระหว่างเดินไม่ได้ หรือค่าแท็กซี่ที่ภริยาไปเยี่ยม


- เรียกค่าเสียหายได้จาก ผู้ขับรถประมาท นายจ้าง ตัวแทน บ.ประกันภัย ปพพ.420,438,442-446


- ฏ.19/23 จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ที่โจทก์เช่าซื้อมาเสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้   แม้โจทก์จะชำระราคาเช่าซื้อยังไม่ครบโจทก์ก็ย่อมเป็นผู้เสียหาย ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดโดยตรงต่อโจทก์   สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหาย ค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยได้เต็มราคารถจักรยานยนต์


- ฏ.30083009/29รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ของจำเลยชนโดยประมาทขวางอยู่กลางถนนแล้วถูกรถคันอื่นชนซ้ำโดยไม่ใช่ความประมาทของบุคคลนั้นแม้จะเกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นก็เป็นผลโดยตรงอันเกิดจากความประมาทของฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อขึ้นก่อน   ดังนี้จำเลยต้องรับผิดในผลความเสียหายที่เพิ่มขึ้นนี้ด้วย หรือสมมติว่ารถชนแล้วยางที่บรรทุกมาในรถกระเด็นไปแล้วมีคนมาขโมยไป จำเลยต้องรับผิดด้วยเพราะถ้าจำเลยไม่ขับรถชนยางก็ไม่หล่นก็ไม่มีคนขโมยไป   แต่ถ้ากรณีมีคนเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลระหว่างทางเกิดมีคนไปลักทรัพย์ของคนเจ็บอันนั้นน่าจะถือว่าห่างไกลเกินไปไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุ (ดู ทฤษฏีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผล)


- สัญญายืมใช้คงรูปกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืมยังคงอยู่แก่ผู้ให้ยืม เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องรับกรรมในภัยพิบัติ

 

  2010 © PATTANATHAM